วันเสาร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2562

โปรแกรมร่วมกิจกรรมคาราวานตำนานยักษ์คุ และประเพณีสงกรานต์ ฮางฮดรดน้ำ ๔ แผ่นดิน จังหวัดอำนาจเจริญ-จ.อุบลราชธานี 3 วัน 2 คืน


        การเดินทางไปวันแรกถึงจังหวัดอุบลราชธานีแล้วรับประทานอาหารเย็นเข้าพักผ่อน พร้อมร่วมเดินทางตามกิจกรรม คาราวานรถยนต์ สืบสานตำนานยักษ์คุ วิถี คนริมโขง ในวันรุ่งขึ้น พร้อมแปลงตนเป็นยักษ์ ซึ่งทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานอุบลราชธานี สนับสนุนงานเทศกาลแห่ยักษ์คุ เต็มที่ โดยความร่วมมือกับ สภาคมท่องเที่ยว, สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว กลุ่ม โขง ชี มูล  (อุบลราชธานี ยโสธร อำนาจเจริญ)  รวมทั้ง .ศรีสะเกษ  จัดคาราวาน แต่งยักษ์ทั้ง 4 จังหวัด และจังหวัดละไม่ต่ำกว่า 10 คัน มาร่วมขบวนแห่ จึงเป็นเรื่องแปลกและสร้างความสนุกสนานแก่นักท่องเที่ยวทุกคน ที่มาร่วมคาราวาน ซึ่งจะต้องแต่งกายเป็นยักษ์ โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานอุบลราชธานี สนับสนุน ช่างเพ้นท์หน้ายักษ์ 

         ในระหว่างนั้นยังไม่ได้เวลาขบวนแห่ยักษ์คุ เหล่าคาราวานยักษ์อย่างเราก็ออกตระเวนเที่ยว ไปวัดพระธาตุนาป่าแซง หรือเรียกอีกชื่อว่าวัดสุทธิกาวาสเป็นการจำลองพระธาตุพนมจังหวัดนครพนม ความศักดิ์สิทธิของพระธาตุนาป่าแซงเป็นที่เคารพของคนทั่วไป ชาวบ้านเลี้ยงรับรองด้วยอาหารถิ่นจัดเตรียมไว้ ชิลล์ที่ริมโขง บอกฮักที่ริมโขง มีการร้องรำเป็นที่สนุกสนาน
          คาราวานยักษ์เดินทางต่อไปเจดีย์หินพันล้านก้อน วัดภูพนมดี ด้วยความพิเศษ
ขององค์เจดีย์ที่ประดับด้วยก้อนหินสีต่างๆ กันโดยรอบ ซึ่งเกิดจากความร่วมมือร่วมใจและความสามัคคีของชาวบ้านเรียงไปตามจินตนาการนับพันนับล้านก้อนจึงเป็นที่มาของชื่อ "เจดีย์หินพันล้านก้อน" เป็นวัดที่มีความสงบ ร่มรื่น มองเห็นแต่ไกลมีหน้าผาและลานธรรมที่สวยงาม        
           วัดภูพนมดี เป็นภูเขาดินขนาดเล็ก มีเจดีย์ก่อด้วยหินศาลาแลงสูง 39 เมตร และพระพุทธรูปก่อด้วยปูนตั้งอยู่บนเขาหน้าผาสูง สมัยก่อนมีบันไดขึ้นวัดภูพนมดี 245 ขั้น แต่
ปัจจุบันรถยนต์สามารถขับขึ้นมาได้สะดวกสบาย
           เมื่อได้เวลาที่งานเทศกาลแห่ยักษ์คุ ชานุมาน ครั้งที่ 7 จัดขึ้น สนามหน้าที่ว่าการอำเภอชานุมาน .ชานุมาน .อำนาจเจริญ จะเริ่มแล้ว คาราวานยักษ์อย่างพวกเรารีบเดินทางกลับไปชมการแสดงและขบวนแห่ยักษ์คุของแต่ละหน่วยงาน  ขบวนแห่ฟ้อนรำ ซึ่งนางรำทุกคน เพ้นท์หน้าแต่งตัวเป็นยักษ์คุ อย่างสวยงาม และน่าทึ่ง เห็นแล้วประทับใจ ไม่มีที่ไหนมาก่อน แห่งเดียวในประเทศไทย ขบวนแห่อัตลักษ์ 5 ตำบลของชาวขานุมาน
โดยขบวนแห่ยักษ์คุ จุดเริ่มต้นที่ตลาดเทศบาลตำบลชานุมาน แห่ไปตามถนนสายหลัก เขตเทศบาลตำบลชานุมาน  และไปสิ้นสุดที่บริเวณสนามหน้าที่ว่าการอำเภอชานุมาน ซึ่งเป็นสถานที่จัดงาน ตลอด 3 วัน นอกจากนี้ ยังจะได้ชม การเดินแบบชุดพื้นเมือง การประกวดธิดายักษ์ชานุมาน การประกวดธิดาชานุมาน การประกวดร้องเพลงลูกทุ่งYAKKHU SINGING CONTEST  2019 
         ที่มาของชื่ออำเภอชานุมานตามตำนานนิทานเรื่องยักษ์คุ ในกาลครั้งที่พระลัก
ษมณ์พระราม พานางสีดาเดินดงไปกลางป่าปรากฏมียักษ์ชื่อทศกัณฐ์มาลักพาตัวนางสีดาไป ทีแรกขังไว้ที่ ริมแม่น้ำโขง นางสีดาก็ร้องไห้คิดถึงพระราม บริเวณนั้นจึงเรียกว่า ท่านางสีดา หรือ บ้านนาสีดาในปัจจุบัน   ยักษ์ทศกัณฐ์กลัวพวกพระรามจะได้ยิน จึงพานางสีดาเหาะข้ามแม่น้ำโขงไปขังไว้ที่ปราสาทเฮือนหิน (ฝั่งตรงข้ามบ้านท่ายักษ์คุ อำเภอชานุมาน .อำนาจเจริญ ปัจจุบันเรียกบ้านเฮือนหิน แขวงสะหวันนะเขต ประเทศลาว)  พระลักษ์พระราม
ตามมาทันจึงเข้าสู้รบกับทศกัณฐ์  ม้าของพรามกระโดเตะปราสาทเฮือนหินจนพังดังที่ปรากฏในปัจจุบัน  ในขณะที่สู้รบกันอยู่นั้น นางสีดาได้หนีมาอยู่เกาะกลางแม่น้ำโขงแล้วปะแป้งแต่งหน้ารอพระราม จึงเรียกเกาะนี้ว่า ดอนสีนวดหรือดอนชะโนด ในทีสุดเมื่อทศกัณฐ์ยอมแพ้จึงร้องขอชีวิตโดยคุกเข่ากราบไปที่พระธาตุเฮือนหิน บริเวณที่คุกเข้าจึงเรียกว่าท่ายักคุกเข่าหรือท่ายักคุจนกระทั่งเป็นที่มาของคำว่า ชานุมาร รอยที่ยักษ์คุกเข่าปรากฏขึ้นเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ 3 แห่ง ให้เห็นกระทั่งปัจจุบัน  นิทานเรื่องยักษ์คุมีหลาย
สำนวน
แต่ทุกเรื่องก็เป็นการอธิบายถึงพื้นที่ต่างๆในลุ่มแม่น้ำโขงและอำเภอชานุมานโดยผูกเข้ากับนิทานเรื่องรามเกียรติ์สำนวนลาวสองฝั่งโขง

ในเช้าวันใหม่ เราเดินทางไปชุมชนชาวกุลา วัดทุ่งสว่างอารมณ์ ที่บ้านโนนใหญ่ หมู่ที่ 3 ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ที่น้านโนใหญ่นั้นเคยมีชาวกุลาจากพม่าเดินทางมาค้าขายและอาศัยทำมาหากินอยู่ และมามีครอบครัว สร้างหลักปักฐานจนเป็นครอบครัวใหญ่ ซึ่งชาวกุลาก็ได้มาสร้างศาลาการเปรียญขึ้นมีลักษณะแปลก ศาลาหลังนี้สร้างขึ้นใหม่ทดแทนหลังเก่าที่ชำรุดทรุดโทรมลง เพื่อใช้เป็นที่ศึกษาพระธรรมและให้บุตรหลานได้ใช้ประกอบพิธีกรรม
ต่างๆ และยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหินอ่อนแบบพม่า เครื่องมือ เครื่องใช้ต่าง อาวุธ นอกจากนั้นยังมีต้นปาล์มชวาคู่ ที่ปลูกอยู่ด้านหน้า ซึ่งปลูกในปี 2468 ปัจจุบันนี้มีอายุราว 94 ปี (เมื่อปี 2562)          เมื่อใกล้ถึงเวลาพิธีเปิดงานประเพณีสงกรานต์ฮางฮดรดน้ำ 4  สะพานรัตนโกสินทร์ 200 ปี เพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์ในแผ่นดิน เรียกว่า ความเชื่อมโยงในภูมิภาคอาเซี่ยน          นายสฤษดิ์ วิฑูรย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีเป็นประธานพิธี เปิดงานประเพณีสงกรานต์ฮางฮดรดน้ำ 4 แผ่นดินโดยมีไทย
ลาว เขมร เวียดนามและส่วนราชการในท้องถิ่นเปิดงาน โดยจัดขึ้นในวันที่ 12-13 เมษายน 2562  เชิงสะพานรัตนโกสินทร์ 200 ปี (ฝั่งอำเภอวารินชำราบ) และบริเวณทุ่งศรีเมือง
           กิจกรรมภายในงานมีขบวนแห่สงกรานต์ฮางฮดรดน้ำ 4 แผ่นดิน และขบวนแห่ชุมชน เคลื่อนขบวนแห่ไปตามสะพานรัตนโกสินทร์ 200 ปี สิ้นสุดขบวนแห่ที่บริเวณถนนดอกไม้และสายน้ำ (ถนนราชบุตร) ,พิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ จำนวน 99 รูป  ลานเทียนทุ่งศรีเมือง สรงน้ำอนุสาวรีย์พระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง),พระอุบาลีคุณูปมาจารย์,สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ และศาลหลักเมือง ,พิธีสรงน้ำพระแก้วบุษราคัมเป็นปฐมฤกษ์ อัญเชิญพระแก้วบุษราคัมประดิษฐานบนบุษบก คานหามเพื่อร่วมขบวนแห่สงกรานต์ วัดศรีอุบลรัตนาราม, พิธีรดน้ำขอพรผู้สูงอายุ 106 ชุมชน จากเทศบาลนครอุบลราชธานีและตัวแทนผู้สูงอายุจาก 25 อำเภอในจังหวัดอุบลราชธานี ลานหน้าศาลหลักเมือง
ขอขอบคุณ
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)
www.aboutinformant.com    kesaraporn pnussuwankiri   095-551-6345  aboutinformant@gmail.com
รับชม VDO เพิ่มเติม
ประเพณีแห่ยักษ์คุ และเปิดงานประเพณีสงกรานต์ฮางฮดรดน้ำ 4 แผ่นดิน
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ฮางฮด
          ฮางฮด (อ่านตามสำเนียงอีสาน) คำว่า "ฮาง" ในภาษาถิ่นอีสานหมายถึง รางน้ำ ถ้าใช้ในบริบทของงานช่างด้านการสร้างหมายถึง ไม้ขุดเป็นร่องสาหรับรองน้ำ และคำว่า "ฮด" ก็หมายถึง การรดน้ำ ฮางฮด ก็คือการรดน้ำนั่นเอง โดยมากใช้ในพุทธพิธี เช่น ประเพณีสงกรานต์ ที่เราจะสรงน้ำพระ ไม่ว่าจะเป็นพระภิกษุสงฆ์ หรือพระพุทธรูป แต่โดยมากจะใช้กับพระพุทธรูปมากกว่า ฮางฮด นิยมทำจากไม้ ขุดและตกแต่งเป็นพญานาค เนื่องจากในทางความเชื่อทางสังคมวัฒนธรรมโดยเฉพาะกลุ่มวัฒนธรรมไทยลาว จะใช้ นาค เป็นสื่อกลางในการเชื่อมต่อจากภพหนึ่งสู่อีกภพหนึ่ง และหากสังเกตที่บริเวณส่วนฐานฮางฮด มักจะทำเป็นสัตว์บริวารมารองรับ โดยมีเต่า กระต่าย ช้าง และหมา เป็นสัตว์ที่พบมากที่สุด ทั้งหมดทำหน้าที่ในการสื่อนัยยะของการเป็นสัตว์บริวารที่คอยเกื้อหนุนส่งเสริมพระพุทธศาสนา น้ำสรงที่ผ่านฮางฮด ไหลไปลงที่องค์พระแล้ว ถือว่าเป็นน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์ครับ ทางวัดจะบรรจุใส่ถุงให้ญาติโยมนำกลับไปบ้านเพื่อเป็นสิริมงคลต่อไป


 
















 























ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น