วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2565

วธ. จัดใหญ่งานมหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ “วิถีถิ่น วิถีไทย” ปี 66 ทั่วไทย 4 จังหวัด 4 ภาค

โชว์ของดี ของเด่น ของอร่อย ประเดิมมหาสารคามที่แรก 23-27 ธ.ค.นี้
ต่อต่อด้วยนครสวรรค์ สุพรรณบุรี ปิดท้ายที่สุราษฎร์ธานีเมืองใต้ ยกระดับเทศกาลประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่น และแหล่งท่องเที่ยวสู่ระดับนานาชาติ สร้างงาน สร้างรายได้ ฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน 

         วันที่ 16 ธันวาคม 2565 นางโชติกา อัครกิจโสภากุล รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานการแถลงข่าวงานมหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ วิถีถิ่นวิถีไทย ประจำปี 2566

โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม นครสวรรค์ สุพรรณบุรี สุราษฎร์ธานี ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม วัฒนธรรมจังหวัด ผู้นำชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม ณ หอศิลป์แห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม


ภายในงานมีการแสดงศิลปวัฒนธรรมทั้ง 4 ภาค อาทิ หุ่นกระติบ ของจังหวัดมหาสารคาม การเชิดมังกรและสิงโต ของจังหวัดนครสวรรค์ การแสดงเบญจดนตรีไทย ของจังหวัดสุพรรณบุรี สาธิตมวยไชยา ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี รวมไปถึงอาหารพื้นบ้านของแต่ละภาค และผลิตภัณฑ์ ทางวัฒนธรรมไทย (CPOT) ด้วย



          นางโชติกา กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) จัดงานมหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ “วิถีถิ่น วิถีไทย” มาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 เป็นการนำทุนทางวัฒนธรรมมาสร้างงาน สร้างรายได้กระตุ้นเศรษฐกิจและฟื้นฟูการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดของทุกภาค เป็นการฟื้นวิกฤติจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งเสริมและเปิดพื้นที่ให้ศิลปินศิลปินพื้นบ้านแขนงต่างๆ ได้มีโอกาสถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมการแสดงและมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมท้องถิ่นไปสู่เยาวชนและประชาชน



รวมทั้งสนับสนุนการนำสินค้าผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย (CPOT) สามารถสร้างรายได้กระตุ้นเศรษฐกิจในภูมิภาคนั้นๆ ทั้งในส่วนของผู้ประกอบการทางวัฒนธรรม ศิลปิน




และการท่องเที่ยวของจังหวัด ตามนโยบาย วธ. ที่มุ่งขับเคลื่อนงานด้านศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม ทั้งด้านมิติสังคมและมิติเศรษฐกิจ Restart ประเทศไทย ขับเคลื่อนสังคมและเศรษฐกิจด้วยวัฒนธรรม ตามนโยบาย “เปลี่ยนฉากทัศน์วัฒนธรรม สู่ก้าวที่มั่นคงและยั่งยืน” ส่งเสริมเศรษฐกิจวัฒนธรรมไทยในเวทีโลก



ด้วยทุนทางวัฒนธรรมที่มีศักยภาพ หรือ 5F เปิดพื้นที่ เปิดโอกาส ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเที่ยวและซึมซับวัฒนธรรมของไทยมากขึ้น






          รองปลัด วธ. กล่าวอีกว่า สำหรับในปี 2566 นี้ จะมีพิธีเปิดอย่างยิ่งใหญ่ให้ทุกคนในชุมชนและจังหวัดอื่นๆ ในภูมิภาคเดียวกันมีส่วนร่วมในทุกมิติ ซึ่งความพิเศษของงานแต่ละที่จะแตกต่างกันด้วยการนำทุนทางวัฒนธรรมที่มีอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ของพื้นที่นั้นๆ มาจัดเป็นไฮท์ไลท์ของงานผ่านกิจกรรมการแสดง สินค้าทางวัฒนธรรม ศิลปินท้องถิ่น การตกแต่งสถานที่และแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ได้แก่
     1. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ “หุ่นกระติบ งึดอีหลี ยลวิถี ของดีอีสาน” วันที่ 23 - 27 ธันวาคม 2565 ณ บริเวณพระบรมธาตุนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
     2. ภาคเหนือ “อารยธรรมแห่งสายน้ำ วัฒนธรรมจีนไทย สานสายใยชาติพันธุ์” วันที่ 16 - 20 มกราคม 2566 ณ บริเวณหาดทรายต้นน้ำเจ้าพระยา และอาคารพาสาน อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
     3. ภาคกลางและภาคตะวันออก “ดนตรีสานศิลป์ สองถิ่นวัฒนธรรม” วันที่ 9 - 13 มิถุนายน 2566 ณ บริเวณวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี และ 4. ภาคใต้ “สานศิลป์ แดนดินใต้ เทิดไท้องค์ราชัน” วันที่ 26 - 30 กรกฎาคม 2566 ณ บริเวณสนามหน้าศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี
          รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ วธ. ให้ความสำคัญในรบูรณาการความร่วมมือ กับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในพื้นที่ ตลอดจนหน่วยงานในสังกัดของ วธ. ไม่ว่าจะเป็น กรมศิลปากร ที่ดูในเรื่องกิจกรรมเสวนาวิชาการและกิจกรรมสังคีตสัญจร กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ดูเรื่องการจัดตลาดวัฒนธรรม สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ดูการจัดบูทแสดงงานศิลปะ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ดูการจัดการแสดงศิลปวัฒนธรรม ในวันเปิดงานและการแสดงโขน รวมถึงสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดของจังหวัดเจ้าภาพให้มี การประสานงานและการประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึง ร่วมกันจัดงานให้เกิดการยกระดับเทศกาลประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่น และแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ให้เป็นที่รู้จักในระดับประเทศและนานาชาติ
#aboutinformant9.blogspot.com
#kedsaraporn pnussuwonkiri
#0955516345

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น