วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

รอยประวัติศาสตร์โรงงานกระดาษ จังหวัดกาญจนบุรี


โรงงานกระดาษไทยกาญจนบุรี เดิมชื่อโรงงานทำกระดาษทหารกาญจนบุรี

จากแผ่นศิลาที่ใช้ในพิธีฝังศิลาฤกษ์อาคารโรงงานกระดาษ ได้ความว่า นายพันเอกพหลพลพยุหเสนากับนายพันหลวงพิบูลสงคราม



ได้ร่วมกันคิดสร้างโรงงานกระดาษนี้ขึ้นที่เมืองกาญจนบุรีตั้งแต่ พ.ศ. 2476 เจ้าหน้าที่กรมแผนที่ได้ดำเนินงานมาตลอดจนถึง วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2479 ที่เลือกพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี



เพราะเป็นพื้นที่ที่มีไม้ไผ่อุดมสมบูรณ์ ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2480 ซึ่งเป็นวันปฐมฤกษ์ ว่าไทยได้มีเครื่องทำเยื่อกระดาษและทำกระดาษใช้เองได้

โรงงานแห่งนี้ตั้งแต่เริ่มสร้าง เปิดทำการตลอดจนความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นล้วนเกี่ยวกับหน้าประวัติศาสตร์ไทยในหลายด้าน

เช่น โรงงานกระดาษแห่งแรกของประเทศไทยที่ผลิตเยื่อกระดาษได้เอง, กระดาษที่ผลิตจากโรงงานแห่งนี้ถูกใช้พิมพ์ธนบัตรช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนธนบัตรช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 


กลุ่มอาการเป็นสถาปัตยกรรมแบบโมเดิร์นยุคแรกเริ่มของประเทศไทย ต่อมาใน พ.ศ. 2530 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ยกเลิกกิจการโรงงานกระดาษไทยกาญจนบุรี ได้เห็นชอบให้ บริษัทอุตสาหกรรมกระดาษศิริศักดิ์ จำกัด เป็นผู้ประมูลซื้อโรงงานอาคารสิ่งปลูกสร้างและให้กระทรวงการคลังดำเนินการเกี่ยวกับการจัดให้เช่าที่ดินราชพัสดุ โดยให้ระบุวัตถุประสงค์ของการให้เช่าที่ดินไว้ในสัญญา ว่าเพื่อการดำเนินกิจการโรงงานกระดาษเท่านั้นและครบสัญญาเช่าเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายนพ.ศ. 2560


ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ถือได้ว่าโรงงานกระดาษ เป็นโรงงานขนาดใหญ่และมีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่ทันสมัยในช่วงเวลาดังกล่าว ได้รับอิทธิพลแบบโมเดิร์นยุคเริ่มแรกในประเทศไทยซึ่งเน้นความเก่าเรียบง่ายและให้ประโยชน์ใช้สอย


ซุ้มประตูมี จำนวน 2 ซุ้ม คือประตูทางเข้าและทางออก มีรูปแบบเรียบง่าย ด้านบนเป็นรูปจักรมีสมอสอดขัดในวงจักร ด้านซ้ายขวามีรูปปีกนกกางอยู่ภายใต้รูปมหามงกุฎ ซึ่งเป็นตราประจำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมนามโรงงานว่าโรงงานกระดาษทหารกาญจนบุรี ของกรมแผนที่โดยจอมพลปพิบูลสงคราม



www.aboutinformant9.blogspot.com
by kedsarapron pnussuwonkiri
Tel 095-551-6345

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น